เหมา เจ๋อตุง (Mao Tse-tung )
ประธานาธิบดี เหมาเจ๋อตง 毛泽东
(26 ธันวาคม1893 – 9 กันยายน1976)
บุรุษหนุ่มไฟแรงผู้นำพรรคพวกและกองทัพแดง เดินทัพทางไกล 25,000 ลี้ ในปีค.ศ. 1930-1933 คือ บุคคลเดียวกับบุรุษวัย 50 เศษ ผู้สงบนิ่งท่ามกลางคลื่นมหาชน ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน ก่อนประกาศต่อปวงชน ณ ที่นั้นและชาวโลก ในวันที่ 1 ตุลาคม ปีค.ศ. 1949 ด้วยประโยคที่หนักแน่น มีพลังว่า “ประชาชนจีนได้ลุกขึ้นยืนแล้ว!” และบุคคลคนเดียวกันนี้ ที่เปิดฉากการเคลื่อนไหวปฏิวัติวัฒนธรรมในปี ค.ศ. 1966 บุรุษผู้ทำให้การกำเนิดของ ‘สาธารณรัฐประชาชนจีน’เต็มไปด้วยเรื่องราวของหยดเลือดและหยาดน้ำตา ... นามของบุรุษผู้นั้น เหมาเจ๋อตง (ค.ศ.1893-1976)
จากประสบการณ์การเป็นนักเคลื่อนไหวในวัยหนุ่ม เหมาเจ๋อตง ได้แสดงออกถึงภาพลักษณ์ของเยาวชนผู้มีจิตใจหาญกล้า เต็มเปี่ยมด้วยจิตวิญญาณนักปฏิรูปทางความคิด และภายหลังได้เป็นผู้นำการคัดค้าน การต่อสู้ และการปฏิวัติที่พลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน เพื่อให้ได้มาซึ่งความเท่าเทียมในสังคม เหมาเจ๋อตงไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นประเทศจีนใหม่ ที่ล้มล้างอำนาจเก่า และสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับมาตุภูมิแล้ว อีกด้านหนึ่งยังเป็นมือที่ถอนรากวัฒนธรรมจีนในคราเดียวกัน
ประวัติ
อดีตประธานาธิบดี ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ท่านประธานเหมา เจ๋อ ตุง เกิดวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2436 (ค.ศ.1893) ในครอบครัวชาวนาพอมีอันจะกินอาศัยอยู่ในเขตชนบทชานเมืองสาวซาน มณฑลหูหนาน บิดาของเหมา เหมาอี๋ชาง เป็นคนเข้มงวด และชอบบังคับ เหมามักต่อต้านบิดาอยู่เสมอ ซึ่งมีส่วนหล่อหลอมให้เหมาเป็นคนเข้มแข็ง ชอบต่อสู้คัดค้าน อย่างไรก็ตามเหมาก็ได้รับการสั่งสอนคุณสมบัติที่ดีงามจากผู้เป็นแม่คือ ความใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และรักการใช้แรงงาน
อายุ 8 ขวบ เข้าโรงเรียนประถมในหมู่บ้าน ร่ำเรียนคำสอนหลักลัทธิขงจื้อ ปลูกฝังความคิดตามจารีตโบราณ ต่อมาถูกคลุมถุงชนให้แต่งงานกับหญิงสาวที่อายุมากกว่า ด้วยวัยเยาว์ทำให้ไม่ประสากับชีวิตครอบครัว อีกทั้งต้องการก้าวสู่โลกกว้างมากกว่ามีชีวิตปลูกพืช เลี้ยงสัตว์อยู่กับบ้านไปวันๆ ตัดสินใจขัดใจพ่อแล้วเดินทางออกจากบ้านเกิดเข้าตัวอำเภอฉางชา เรียนหนังสือในโรงเรียนตามหลักสูตรรัฐบาล เป็นนักเรียนโค่งร่วมชั้นกับเด็กเล็กๆ ต่อมาสอบเข้าเรียนต่อวิทยาลัยครูหูหนาน จากนั้นมุ่งหน้าเข้ามหาวิทยาลัยปักกิ่ง เรียนไปทำงานหน้าที่ผู้ช่วยบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยไปด้วย และห้องสมุดนั่นเองที่เป็นคลังความรู้ให้สะสมภูมิปัญญา ทั้งแตกฉานทางอักษรศาสตร์ยอดเยี่ยม ว่ากันว่าความรู้ที่ได้จากห้องสมุดมหาวิทยาลัยปักกิ่งคือต้นทุนที่ทำให้เขาปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนได้สำเร็จ เหมาทุ่มเทเวลาให้กับการเรียนหนังสืออย่างจริงจัง เวลาว่างเขาเขียนบทความลงหนังสือของวิทยาลัยครู ใช้นามแฝง "เอ้อสือปาวาเซิง" หรือ "นายยี่สิบแปดขีด" ตามชื่อของเขาที่เมื่อเขียนเป็นภาษาจีนแบบตัวเต็มรุ่นเก่า จะมีทั้งหมด 28 ขีด งานเขียนส่วนใหญ่ของเหมาแสดงทัศนะวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของราชสำนักชิงซึ่งเป็นชาวแมนจู นักศึกษาหนุ่มหัวก้าวหน้าจึงเป็นที่จับตาของสายลับรัฐบาล นั่นไม่เป็นผลอะไร เพราะที่สุดเหมารวมพลคนใจเดียวกัน ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนในพ.ศ. 2464 และปีเดียวกัน เขาเป็นแกนนำหยุดงานประท้วงของคนงานเหมืองแร่ที่อันหยวน เขียนหนังสือ "พลังปฏิวัติเบ่งบานออกมาจากปากกระบอกปืน" แล้วก่อตั้งกองทัพแดงกรรมกรและชาวนา ตามด้วยกองทัพปลดแอกประชาชน ปฏิบัติการ "ป่าล้อมเมือง" จนมีชัยเหนือเจียง ไค เช็ก เหมา เจ๋อ ตุง กุมอำนาจรัฐเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เขาสถาปนา "สาธารณรัฐประชาชนจีน" ดำรงตำแหน่งประธานสาธารณรัฐจนถึงพ.ศ. 2512
ภาพซ้าย -เหมาเจ๋อตงกับมารดา น้องชายเหมาเจ๋อถัน (ซ้ายสุด) และเหมาเจ๋อหมิน(ที่สองจากซ้าย) ถ่ายภาพร่วมกันในฤดูใบไม้ผลิ ปี 1919 ที่ฉางซา เหมาเจ๋อตง(ขวาสุด)อายุ 16 ปี ภาพขวา -ถ่ายร่วมกับบิดาเหมาอี๋ชาง (ที่สองจากซ้าย) และลุงเหมาฝูเซิง (ที่สองจากขวา) ที่ฉางซาในปีเดียวกัน
ด้านครอบครัว
ชีวิตครอบครัวเหมา เจ๋อตุง มีภรรยา 4 คน 1.นางหลัว อีซิ่ว เป็นการแต่งแบบคลุมถุงชน ซึ่งเหมาไม่ได้ยินดีนัก 2.นางหยาง ไค อุย เสียชีวิตในการทำสงครามเพื่อชาติ พ.ศ. 2464 3.นางเอ ชิ เจิ้น นายพลหญิงแห่งกองทัพแดง และ 4.เชียง ชิง ผู้นำการปฏิวัติกองทัพแดง หรือเรดการ์ดอันนองเลือดลือลั่นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาส ตร์จีนใหม่ นางฆ่าตัวตายปี 2534เหมา เจ๋อ ตุง ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 9 กันยายน
เหมา เจ๋อตง กับ เจียงไคเช็กเป็นเพื่อนกัน แต่เนื่องจาก เจียงไคเช็กเป็นมือขวาสำคัญของ ซุน ยัตเซน และมีความใกล้ชิดกับ ซุน มาก ซึ่งซุนเองก็มีแนวคิดเป็นประชาธิปไตย เจียงจึงมีแนวคิดคล้ายๆกับ ซุน นั่นคือ ประเทศจีน ต้องปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ เหมาต้องการให้จีนปกครองแบบคอมมิวนิสต์ จึงเหตุให้ทั้งคู่ไม่ถูกกันและเป็นศัตรูกันจนถึงวันเสียของทั้งคู่
ช่วงต่างๆ ในชีวิต
ปี 1910 เริ่มเข้าเรียนในโรงเรียน จากนั้นไม่นานก็เกิดการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของดร.ซุนยัดเซ็น (การปฏิวัติซินไห่ ปี 1911) ลาออกจากโรงเรียนมาสมัครเข้ากองทหารปฏิวัติ หลังจากนั้นทำงานที่ห้องสมุด ที่นี้ทำให้เขามีโอกาสได้อ่านหนังสือมากขึ้น
ภาพนี้ถ่ายในปี 1913 เมื่อครั้งสมัครเข้าเรียนในวิทยาลัยครูที่สี่ ในหูหนัน
ปี 1913 สอบเข้าเรียนวิทยาลัยครูที่หูหนัน เหมาเป็นนักศึกษาที่ขยันเรียน ขณะเดียวกันก็สนใจการเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม และได้เข้าร่วมในการต่อสู้การคัดค้านหยวนซื่อข่าย (ประธานาธิบดีเผด็จการสมัยนั้น) และเริ่มได้รับอิทธิพลทางความคิดลัทธิมาร์กซ์
ปี 1920 เป็นครูสอนที่โรงเรียน และเปิดโรงเรียนกลางคืนสอนเยาวชนที่ด้อยโอกาส และจัดตั้งหน่วยลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้น เหมาแต่งงานกับหยางไคฮุ่ย หยางเป็นนักศึกษาหญิงได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวปฏิวัติกับเหมา จนถูกพวกกั๋วหมินตั่งจับกุมและถูกประหารชีวิต ปี 1930
เหมาเจ๋อตง (ที่สี่จากซ้าย) ค่อยๆกลายเป็นกลุ่มแนวร่วมลัทธิมาร์กซ์ ได้ร่วมจัดตั้งหน่วยลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้น และใช้เวลากลางคืนเปิดโรงเรียนสอนเยาวชนที่ด้อยโอกาส เขาได้พบกับนักศึกษาหญิงที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวปฏิวัติด้วยกัน ชื่อ หยางไคฮุ่ย และต่อมาได้แต่งงานกัน ภาพนี้ถ่ายร่วมกับกลุ่มนักเคลื่อนไหว ที่เถาหยันถิงในกรุงปักกิ่ง เมื่อปี 1920
ปี 1921 เหมาเข้าร่วมการประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศครั้งที่ 1 ที่เซี่ยงไฮ้ เป็นเลขาธิการกรรมการพรรคเขตหูหนัน นำการเคลื่อนไหวในกลุ่มกรรมกร และชาวนาอยู่บ่อยครั้ง ขณะที่เหมาเป็นเลขาธิการคณะกรรมการการเคลื่อนไหวชาวนาของพรรคได้เสนอแนวทาง “ยืนหยัดการนำของชนชั้นกรรมาชีพต่อการปฏิวัติประชาธิปไตย อาศัยพันธมิตรกรรมกรชาวนาเป็นพื้นฐาน”
ปี 1927 สร้างฐานที่มั่นปฏิวัติแห่งแรกขึ้นที่เขาจิ่งกังซัน จากการรวบรวมกองทหารกรรมกรและชาวนา ต่อมาเหมาได้พัฒนาแนวทางยุทธศาสตร์การปฏิวัติของจีน คือ “ใช้ชนบทล้อมเมือง ยึดอำนาจรัฐด้วยอาวุธ” ชี้นำการปฏิวัติจีนจนได้รับผลสำเร็จ
ปี 1930 -1933 ร่วมกับ จูเต๋อ นำกองทัพแดงต้านการล้อมปราบครั้งใหญ่ของกั๋วหมินตั่ง 4ครั้ง เมื่ออำนาจการนำกองทัพถูกพวกลัทธิซุ่มเสี่ยงหวังหมิงแย่งชิงไป ทำให้พ่ายแพ้การล้อมปราบครั้งที่ 5 จึงต้องละทิ้งฐานที่มั่น เดินทัพทางไกล 25,000 ลี้ไปทางเหนือใช้เวลา 3 ปี
ปี 1936 ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการกลางการทหาร (เหมาได้ดำรงตำแหน่งนี้ตลอดจนถึงแก่กรรม)
ปี 1937 - 1945 เหมานำพรรค กองทัพ และประชาชนทำสงครามประชาชนต่อต้านญี่ปุ่นด้วยยุทธวิธี “สงครามยืดเยื้อ” จนได้ชัยชนะจนได้ชัย(ซึ่งในยุคนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี จึงทำให้ญี่ปุ่นต้องล่าถอย ไปช่วยกองทัพต่อกรกับ อเมริกาที่จะรุกคืบเข้า ญี่ปุ่น)
วันที่ 1 ตุลาคม 1949 ประธานเหมาเจ๋อตงประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน
ปี 1943 เหมาได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์
และได้ดำรงตำแหน่งนี้ต่อเนื่องทุกสมัยจนถึงแก่กรรม
ปฎิวัติ
ปี 1946 –1948 เหมาได้นำกองทัพปลดแอกและประชาชนจีน
ทำสงครามทำลายการรุกโจมตีของฝ่ายเจียงไคเช็ค เขาเป็นผู้บัญชาการสู้รบในยุทธการใหญ่
3 ครั้งได้รับชัยชนะขั้นเด็ดขาด
ทำการรุกไล่ทหารเจียงต่อไปจนสามารถยึดอำนาจรัฐทั่วประเทศ
ปี 1949 วันที่ 1 ตุลาคม
ประธานเหมาเจ๋อตงประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน
ในกรุงปักกิ่ง หลังการตั้งประเทศจีนใหม่
เหมาได้นำพรรคและประชาชนปฏิบัติภาระหน้าที่อันหนักหน่วงในการปรับปรุงปฏิรูปด้านต่างๆ
อาทิ การปฏิรูปที่ดิน ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประชาชาติ ปรับปรุงให้อุตสาหกรรมและวิสาหกิจที่สำคัญเป็นแบบสังคมนิยม
ขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับการคุกคามจากต่างประเทศ ระหว่างต้นทศวรรษที่ 5 จีนต้องทำสงคราม “ต่อต้านอเมริกา หนุนช่วยเกาหลี”
วันที่ 1 ตุลาคม
1949 ประธานเหมาเจ๋อตงประกาศสถาปนา
สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน
ผู้นำสูงสุดของจีน
ประธานเหมา
ประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง
ใช้สัญลักษณ์ค้อนเคียวเป็นสัญลักษณ์พรรค ก็อยู่ในภาวะสงบหลังจากที่ผ่านพ้น
ภาวะสงครามและการต่อต้านจากภายใน ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง
ที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัด ในปีแรกของการบริหารประเทศ
เหมาเน้นการเพิ่มความชำนาญและประสิทธิภาพในการปฏิรูปทางสังคมและเศรษฐกิจ
และได้ให้ประชาชนทุกชนชั้นเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจนี้
ผลตอบรับจึงเป็นที่ประทับใจและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง
ปี 1950
นานาชาติเริ่มให้การยอมรับต่อรัฐบาลคอมมิวนิสต์มากขึ้นตามลำดับ
แต่สิ่งที่ทำให้การยอมรับจากนานาชาติต้องสะดุดคือเหตุการณ์ สงครามเกาหลี เนื่องจากในปี 1950
กองกำลังสหประชาชาติได้ส่งเข้าไปเกาหลีเหนือ จีนเกรงว่าจะคุกครามต่อดินแดงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งเป็นหัวใจทางด้านอุตสาหกรรม จีนจึงส่งกองทัพปลดแอกประชาชน
แต่เรียกตนเองว่าอาสาสมัครประชาชนจีนเข้าไปเกาหลีเหนือตามคำเรียกร้อง
ในสงครามครั้งนั้น มีประเทศที่เป็น คอมมิวนิสต์ใหญ่ๆ 2 ประเทศนั่นคือ จีนแผ่นดินใหญ่ กับ สหภาพโซเวียตเข้าช่วยเหลือเกาหลีเหนือ โดนเหมาเจ๋อตงเป็นผู้ สนับสนุน
เกาหลีเหนือ
ภาพซ้าย
-เหมากับสตาลิน ขณะเยือนสหภาพโซเวียต มหาอำนาจค่ายสังคมนิยมในขณะนั้นเป็นครั้งแรก
ภายหลังสถาปนาจีนใหม่ ระหว่างธันวาคม ปี 1949-กุมภาพันธ์
ปี 1950 ภาพขวา -20 ปีหลังจากนั้น
จีนหันมาจับมือกับมหาอำนาจฝ่ายเสรีนิยม อย่างสหรัฐอเมริกา 21 กุมภาพันธ์ ปี 1972 เหมาเจ๋อตงต้อนรับการมาเยือนของประธานาธิบดีนิกสัน
หลังจากนั้น (28 กุมภาพันธ์) จีนและสหรัฐก็ได้ร่วมกันประกาศ ‘ปฏิญญาเซี่ยงไฮ้’ เป็นสัญญาณว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศได้เข้าสู่ภาวะปรกติ
ปี 1954 เหมาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการประชุมสมัชชาผู้แทนประชาชนทั่วประเทศ ครั้งที่ 1
เหมาเจ๋อตง
ในอิริยาบทต่างๆ ภาพแรก -ขณะเยี่ยมชาวนาในชนบท ที่มณฑลเหอหนัน ปี 1958
กลาง – เหมาที่เซี่ยงไฮ้
ภาพที่สาม –ที่หลูซัน ปี 1961
ปี 1966 เนื่องจากการประเมินสถานการณ์การต่อสู้ทางชนชั้นภายในประเทศผิดพลาด
เหมาได้เปิดการเคลื่อนไหวปฏิวัติวัฒนธรรม
ซึ่งต่อมาถูกกลุ่มหลินเปียวและกลุ่มเจียงชิงเข้าควบคุม
จนทำให้การเคลื่อนไหวขยายวงกว้าง จนเกินกว่าที่เหมาจะควบคุมได้
สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติและประชาชน อย่างไรก็ตาม
ในระหว่างนั้นเหมาก็ได้มองเห็นความผิดพลาด
และพยายามยับยั้งความเสียหายแต่ก็ไม่เป็นผล การปฏิวัติวัฒนธรรมกินเวลายาวนานถึง 10
ปี
เหมาเจ๋อตง ผู้นำสุงสุด โจวเอินไหล
นายกรัฐมนตรีนักการทูตผู้โด่งดัง และเติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำจีนรุ่นที่สอง
ทั้งสามนับเป็นบุคคลสำคัญที่ได้ ก่อร่างสร้างประเทศจีนใหม่
และยังอยู่ในหัวใจชาวจีนเสมอมา ซ้าย –เหมากับโจวเอินไหล
และขวา -กับเติ้งเสี่ยวผิง ในปี 1974
ทุกครั้งที่ประธานเหมาออกเยี่ยมเยือนประชาชน
กลุ่มเยาวชน หรือกรรมกรชาวนา จะได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ซ้าย –เหมากับ กลุ่มตัวแทนเยาวชนแนวร่วมประชาธิปไตยใหม่
ในปี 1957 ขวา – เหมาเยี่ยมโรงเรียนในเสาซัน
บ้านเกิดที่หูหนัน มิถุนายน ปี
ปี
1976
วันที่ 9 กันยายน 1976 เหมาถึงแก่กรรมที่กรุงปักกิ่ง
รวมอายุ 83 ปี มีบุตร 5 คน ชาย 3
หญิง 2
หลักการของเหมาเจ๋อตุง
หลักการของเหมาเจ๋อตุงนั้นเน้นการใช้อำนาจเด็ดขาด หรือวิธีการเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ เหมาเจ๋อตุงเห็นว่าอำนาจนั้นจะได้มาก็ด้วยการปฏิวัติ ดังคำกล่าวว่า “อำนาจรัฐเกิดจากกระบอกปืน” กล่าวคือ “หลักการของเราคือ พรรคบัญชาปืน จะยอมให้ปืนมาบัญชาพรรคไม่ได้เป็นอันขาด แต่เป็นความจริงที่เมื่อมีปืนแล้ว ก็สามารถสร้างพรรคขึ้นมาได้” เหมาเจ๋อตุงย้ำว่า การปฏิวัติเป็นการต่อสู้โดยไม่ต้องคำนึงหรือนำพาต่อคำคัดค้านใดๆ ทั้งสิ้น
จุดมุ่งหมายของเหมาเจ๋อตุง
หลักการของเหมาเจ๋อตุงนั้นเน้นการใช้อำนาจเด็ดขาด หรือวิธีการเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ เหมาเจ๋อตุงเห็นว่าอำนาจนั้นจะได้มาก็ด้วยการปฏิวัติ ดังคำกล่าวว่า “อำนาจรัฐเกิดจากกระบอกปืน” กล่าวคือ “หลักการของเราคือ พรรคบัญชาปืน จะยอมให้ปืนมาบัญชาพรรคไม่ได้เป็นอันขาด แต่เป็นความจริงที่เมื่อมีปืนแล้ว ก็สามารถสร้างพรรคขึ้นมาได้” เหมาเจ๋อตุงย้ำว่า การปฏิวัติเป็นการต่อสู้โดยไม่ต้องคำนึงหรือนำพาต่อคำคัดค้านใดๆ ทั้งสิ้น
จุดมุ่งหมายของเหมาเจ๋อตุง
1.
ในด้านเศรษฐกิจ
เหมาเจ๋อตุงเน้นความสำคัญ หรือความทุกข์ร้อนของชาวไร่
ชาวนามากยิ่งกว่าความทุกข์ร้อนของชนชั้นกรรมาชีพ ฉะนั้น
เหมาเจ๋อตุงจึงมุ่งการปฏิวัติเพื่อชนบทโดยใช้กลยุทธ “ป่าล้อมเมือง” และใช้ระบบคอมมูน
ซึ่งเป็นเขตการเกษตรกรรม อันประกอบด้วยกองผลิตเล็ก และกองผลิตใหญ่
2.
เหมาเจ๋อตุงมีความปรารถนาอย่างแน่วแน่
และจริงจัง ในการวางรากฐานของระบบคอมมิวนิสต์ในเอเชีย
โดยใช้สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นศูนย์กลาง
เพื่อเผยแพร่อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ให้บรรลุเป้าหมาย ฉะนั้น คอมมิวนิสต์ส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย
ได้ยึดถือแนวความคิดของเหมาเจ๋อตุงเป็นหลักการในการดำเนินการที่เรียกว่า “ลัทธิเหมา” (Maoism)
เหมาเจ๋อตุงได้เรียกวิธีการของตนว่า “ประชาธิปไตยแผนใหม่” ซึ่งเน้นความสำคัญในการรวมกลุ่มชาวไร่ ชาวนา กรรมกร ปัญญาชน และนายทุน เข้ามาเป็นแกนกลางของคอมมิวนิสต์ เพื่อสนับสนุนการปฏิวัติ
เหมาเจ๋อตุงได้เรียกวิธีการของตนว่า “ประชาธิปไตยแผนใหม่” ซึ่งเน้นความสำคัญในการรวมกลุ่มชาวไร่ ชาวนา กรรมกร ปัญญาชน และนายทุน เข้ามาเป็นแกนกลางของคอมมิวนิสต์ เพื่อสนับสนุนการปฏิวัติ
3.
เหมาเจ๋อตุงให้ความสำคัญของการต่อสู้ด้วยการใช้กำลังพลและอาวุธ
โดยแสดงออกในรูปของสงครามปลดปล่อย ซึ่งมีทหารป่า
และกองโจรติดอาวุธเป็นหัวหอกในการขยายอิทธิพล สำหรับกลยุทธที่ทหารป่า และกองโจรดำเนินการนั้นใช้หลัก
“มึงมา ข้ามุด มึงหยุด
ข้าแหย่ มึงแย่ ข้าตี มึงหนี ข้าตาม”
นอกจากนั้น
เหมาเจ๋อตุงได้ใช้ตำราพิชัยสงครามของ “ซุ่นจื่อ” 3 ประการ กล่าวคือ
1.
ต้องเอาชนะจิตใจประชาชน
คือการแย่งชิงปวงชน
2.
ต้องเอาชนะเพื่อให้ได้มาซึ่งเสบียงอาหาร
3.
ต้องพิชิตป้อมปราการของศัตรูให้จงได้
เหมาเจ๋อตุงได้อธิบายหลักพิชัยสงครามนี้
โดยได้อุปมาอุปไมยว่า “ทหารเปรียบเสมือนปลา
ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ ถ้าปลาขาดน้ำก็จะตายฉันใด ถ้าทหารอยู่ห่างไกลจากประชาชน
ก็จะตายฉันนั้น”
ปรัชญาการเมือง
หัวใจของปรัชญาทางการเมืองของเหมาเจ๋อตุง คือ “มวลชนสู่มวลชน ” หมายถึง นโยบายของพรรคต้องเริ่มต้นจากมวลชนโดยตรงโดยวิธีการดังนี้
ปรัชญาการเมือง
หัวใจของปรัชญาทางการเมืองของเหมาเจ๋อตุง คือ “มวลชนสู่มวลชน ” หมายถึง นโยบายของพรรคต้องเริ่มต้นจากมวลชนโดยตรงโดยวิธีการดังนี้
1.
รวบรวมความคิดเห็นของมวลชนที่กระจายไม่เป็นระเบียบ
2.
ศึกษาความคิดเห็นที่ได้รวบรวมและเสนอผู้บังคับบัญชา
3.
ผู้บังคับบัญชาให้คำแนะนำและส่งคืนสู่ประชาชน
4.
เมื่อมวลชนยอมรับ
ก็คือนโยบาย
ลัทธิมาร์กซิสตามทรรศนะของเหมาเจ๋อตุงพิจารณาถึงอดีต
เพื่อเป็นแนวทาง ในการประยุกต์เพื่อปัจจุบัน
และยังเชื่ออีกว่าในขณะที่สังคมกำลังเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อยการเมืองต้องมีอำนาจบังคับบัญชาทุกอย่างได้
ความขัดแย้งในความคิดของ เหมาเจ๋อตุงมี 2 ประเภท คือ
1. ความคิดที่ขัดแย้งเกี่ยวกับตนเอง และศัตรู
2. ความขัดแย้งที่ไม่เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
ความขัดแย้งในความคิดของ เหมาเจ๋อตุงมี 2 ประเภท คือ
1. ความคิดที่ขัดแย้งเกี่ยวกับตนเอง และศัตรู
2. ความขัดแย้งที่ไม่เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
1.
ระหว่างอุตสาหกรรมหนักกับการเกษตรกรรม
2.
ระหว่างอำนาจส่วนกลางกับท้องถิ่น
3.
ระหว่างในเมืองกับชนบท
4.
ระหว่างชนกลุ่มน้อยในชาติกับประชาชนชาวฮั่น
ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ
การปฏิวัติวัฒนธรรมที่ความมุ่งหมายเพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างระบบรวมอำนาจทางเศรษฐกิจของชนชั้นกรรมาชีพ
และปัจเจกนิยมชนชั้นกระฏุมพี ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า “การปฏิวัติทางวัฒนธรรม”
ทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง
ระดับพัฒนาการของทุนนิยมในจีนในยุคของเหมาเจ๋อตุงนั้นไม่ได้เป็นสังคมทุนนิยมตามความหมายในลัทธิมาร์กซ์ แต่เป็นสังคมที่เหมาเจ๋อตุงเรียกว่า “กึ่งศักดินา กึ่งอาณานิคม” ดังนั้น ในเมื่อลัทธิมาร์กซ์มิได้ผูกขาดขบวนการปฏิวัติเพื่อสังคมนิยมไว้กับวิธีการปฏิวัติอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ หากเป็นลัทธิที่เปิดกว้างให้กับการนำเอากลวิธีใดก็ได้มาใช้ หากกลวิธีดังกล่าวสามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้ เหมาเจ๋อตุงจึงได้พยายามศึกษาคิดค้นแนวทางดำเนินการ และกลวิธีในการทำสงครามปฏิวัติที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพการณ์ตามความเป็นจริงที่ปรากฏในจีนขณะนั้น
ในเมื่อพัฒนาการของสังคมจีนมีรากฐานทางเศรษฐกิจ (โครงสร้างขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ) ที่แตกต่างมากจากสังคมทุนนิยมของยุโรปตะวันตก การเน้นบทบาทของปัจจัยด้านอัตวิสัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามแนวทฤษฏีการปฏิวัติของลัทธิมาร์กซ์ ซึ่งการเน้นบทบาท และความสำคัญของปัจจัยอัตวิสัยในการทำการปฏิวัติของจีนเป็นที่ประจักชัดจากการที่เหมาเจ๋อตุง ได้ชี้ให้เห็นว่าไม่มีการขัดกันระหว่างลัทธิจิตสำนึก (voluntarism) กับลัทธิวัตถุกำหนด (economic determinism) โดย เหมาเจ๋อตุง ยอมรับว่าวัตถุเป็นเครื่องกำหนดระบบความคิดและความคงอยู่ของสังคม และความสำนึกของบุคคลในสังคม แต่ขณะเดียวกันเขาเห็นว่าอำนาจของความสำนึกอาจเปลี่ยนสภาพวัตถุได้เหมือนกัน
พลังของจิตสำนึก (ปัจจัยอัตวิสัย) ซึ่งตามลัทธิมาร์กซ์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบน (superstructure) จะสามารถก่อความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ก็ต่อเมื่อมีความสัมพันธ์และสัมผัสโดยตรงกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจการเมืองที่ปรากฏในแต่ละห้วงเวลาของประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ความคิดของเหมาเกี่ยวกับการปฏิวัติจึงได้เน้นให้ความสำคัญแก่ชาวนามากกว่ากรรมกรในการทำการปฏิวัติ ทั้งนี้มิได้หมายความว่าเหมาปฏิเสธลัทธิมาร์กซ์เกี่ยวกับความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพในการปฏิวัติ แต่เป็นเพราะจีนในยุคของเหมา ไม่มีจำนวนกรรมกรที่เป็นชนชั้นกรรมาชีพเพียงพอที่จะทำการปฏิวัติ และข้อสำคัญที่สุดคือ การที่เหมาได้มอบบทบาทหลักในการทำปฏิวัติจีนให้แก่ชนชั้นชาวนาหาไม่ได้มีความหมายว่าเหมาเจ๋อตุงได้เปลี่ยนหลักการขั้นพื้นฐานของลัทธิมาร์กซ์ - เลนิน ทั้งนี้เหมาได้เน้นอีกด้วยว่าถึงแม้การปฏิวัติของจีนโดยเนื้อหาแล้วจะเป็นการปฏิวัติของชาวนา แต่การปฏิวัติดังกล่าวจำต้องนำโดยฝ่ายกรรมาชีพ หรืออีกนัยหนึ่งต้องเป็นการปฏิวัติที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์
ลักษณะเด่นอีกด้านหนึ่งของแนวความคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุงที่มีลักษณะจำเพาะต่างจากลัทธิมาร์กซ์ - เลนิน (แต่ยังคงรักษาเนื้อหาและหลักการเดิมไว้) คือ การเปลี่ยนความคิดเดิมของลัทธิเลนินที่ว่าเส้นทางไปสู่ชัยชนะของการปฏิวัติมีจุดศูนย์กลางที่การลุกฮือในเมืองโดยเหมาเจ๋อตุงได้เปลี่ยนรูปแบบของการปฏิวัติโซเวียตจากเมืองสู่ชนบทเป็นชนบทสู่เมือง โดยเน้นลักษณะการทำสงครามปฏิวัติที่ยืดเยื้อมีชนบทเป็นที่ตั้งของศูนย์อำนาจปฏิวัติ นอกจากนั้นโดยที่จีนยุคปฏิวัติตกอยู่ภายใต้การรุกรานและยึดครองของญี่ปุ่นจึงนับเป็นการเปิดโอกาสให้เหมาเจ๋อตุงทำการโยงปัญหาการปฏิวัติเข้าโดยตรงกับปัญหาความอยู่รอดของจีน ซึ่งมีส่วนสำคัญช่วยให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถเรียกร้องการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมากจนประสบชัยชนะในที่สุด
ทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง
ระดับพัฒนาการของทุนนิยมในจีนในยุคของเหมาเจ๋อตุงนั้นไม่ได้เป็นสังคมทุนนิยมตามความหมายในลัทธิมาร์กซ์ แต่เป็นสังคมที่เหมาเจ๋อตุงเรียกว่า “กึ่งศักดินา กึ่งอาณานิคม” ดังนั้น ในเมื่อลัทธิมาร์กซ์มิได้ผูกขาดขบวนการปฏิวัติเพื่อสังคมนิยมไว้กับวิธีการปฏิวัติอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ หากเป็นลัทธิที่เปิดกว้างให้กับการนำเอากลวิธีใดก็ได้มาใช้ หากกลวิธีดังกล่าวสามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้ เหมาเจ๋อตุงจึงได้พยายามศึกษาคิดค้นแนวทางดำเนินการ และกลวิธีในการทำสงครามปฏิวัติที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพการณ์ตามความเป็นจริงที่ปรากฏในจีนขณะนั้น
ในเมื่อพัฒนาการของสังคมจีนมีรากฐานทางเศรษฐกิจ (โครงสร้างขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ) ที่แตกต่างมากจากสังคมทุนนิยมของยุโรปตะวันตก การเน้นบทบาทของปัจจัยด้านอัตวิสัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามแนวทฤษฏีการปฏิวัติของลัทธิมาร์กซ์ ซึ่งการเน้นบทบาท และความสำคัญของปัจจัยอัตวิสัยในการทำการปฏิวัติของจีนเป็นที่ประจักชัดจากการที่เหมาเจ๋อตุง ได้ชี้ให้เห็นว่าไม่มีการขัดกันระหว่างลัทธิจิตสำนึก (voluntarism) กับลัทธิวัตถุกำหนด (economic determinism) โดย เหมาเจ๋อตุง ยอมรับว่าวัตถุเป็นเครื่องกำหนดระบบความคิดและความคงอยู่ของสังคม และความสำนึกของบุคคลในสังคม แต่ขณะเดียวกันเขาเห็นว่าอำนาจของความสำนึกอาจเปลี่ยนสภาพวัตถุได้เหมือนกัน
พลังของจิตสำนึก (ปัจจัยอัตวิสัย) ซึ่งตามลัทธิมาร์กซ์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบน (superstructure) จะสามารถก่อความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ก็ต่อเมื่อมีความสัมพันธ์และสัมผัสโดยตรงกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจการเมืองที่ปรากฏในแต่ละห้วงเวลาของประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ความคิดของเหมาเกี่ยวกับการปฏิวัติจึงได้เน้นให้ความสำคัญแก่ชาวนามากกว่ากรรมกรในการทำการปฏิวัติ ทั้งนี้มิได้หมายความว่าเหมาปฏิเสธลัทธิมาร์กซ์เกี่ยวกับความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพในการปฏิวัติ แต่เป็นเพราะจีนในยุคของเหมา ไม่มีจำนวนกรรมกรที่เป็นชนชั้นกรรมาชีพเพียงพอที่จะทำการปฏิวัติ และข้อสำคัญที่สุดคือ การที่เหมาได้มอบบทบาทหลักในการทำปฏิวัติจีนให้แก่ชนชั้นชาวนาหาไม่ได้มีความหมายว่าเหมาเจ๋อตุงได้เปลี่ยนหลักการขั้นพื้นฐานของลัทธิมาร์กซ์ - เลนิน ทั้งนี้เหมาได้เน้นอีกด้วยว่าถึงแม้การปฏิวัติของจีนโดยเนื้อหาแล้วจะเป็นการปฏิวัติของชาวนา แต่การปฏิวัติดังกล่าวจำต้องนำโดยฝ่ายกรรมาชีพ หรืออีกนัยหนึ่งต้องเป็นการปฏิวัติที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์
ลักษณะเด่นอีกด้านหนึ่งของแนวความคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุงที่มีลักษณะจำเพาะต่างจากลัทธิมาร์กซ์ - เลนิน (แต่ยังคงรักษาเนื้อหาและหลักการเดิมไว้) คือ การเปลี่ยนความคิดเดิมของลัทธิเลนินที่ว่าเส้นทางไปสู่ชัยชนะของการปฏิวัติมีจุดศูนย์กลางที่การลุกฮือในเมืองโดยเหมาเจ๋อตุงได้เปลี่ยนรูปแบบของการปฏิวัติโซเวียตจากเมืองสู่ชนบทเป็นชนบทสู่เมือง โดยเน้นลักษณะการทำสงครามปฏิวัติที่ยืดเยื้อมีชนบทเป็นที่ตั้งของศูนย์อำนาจปฏิวัติ นอกจากนั้นโดยที่จีนยุคปฏิวัติตกอยู่ภายใต้การรุกรานและยึดครองของญี่ปุ่นจึงนับเป็นการเปิดโอกาสให้เหมาเจ๋อตุงทำการโยงปัญหาการปฏิวัติเข้าโดยตรงกับปัญหาความอยู่รอดของจีน ซึ่งมีส่วนสำคัญช่วยให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถเรียกร้องการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมากจนประสบชัยชนะในที่สุด
ประเมินผลงานของเหมา
เจ๋อตุง
หลังจากเหมาถึงแก่กรรม 5 ปี
พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ทำการประเมินผลงานและความผิดพลาดของเหมาอย่างรอบด้าน
ได้ข้อสรุปว่า แม้ในบั้นปลายชีวิต เหมาจะได้ทำความผิดพลาดที่ร้ายแรง ในเหตุการณ์เคลื่อนไหวปฏิวัติวัฒนธรรม
แต่เมื่อเทียบกับผลงานอันใหญ่หลวง
และยาวนานที่ท่านสร้างให้แก่แผ่นดินและประชาชนจีน
คุณความดีของท่านมีมากกว่าความผิดพลาด
ประธานเหมาเจ๋อตงยังคงเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่เคารพรักของประชาชนจีน
สำหรับทฤษฎีความคิดของเหมาเจ๋อตง
ซึ่งผ่านการวิเคราะห์และพัฒนามาจากลัทธิมาร์กซ์บวกกับสภาพที่เป็นจริงของประเทศจีน
ซึ่งเป็นแนวทางที่เหมาะสมเฉพาะกับประเทศจีน
และเป็นตัวชี้นำการปฏิวัติของจีนจนได้รับชัยชนะ
ซึ่งยังคงเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งที่พรรคยึดถือเป็นความคิดชี้นำต่อมา
ขอบคุณข้อมูลจาก
lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/.../mao.htm
www.baanjomyut.com
Nano-Titanium X nano titanium ionic straightening iron
ตอบลบnano titanium titanium hair clipper ionic straightening iron. Manufacturer: ford focus titanium hatchback Daiwa International. Product 2017 ford focus titanium Code: X51000112. Manufacturer: titanium vs ceramic Daiwa ray ban titanium